วันจันทร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2558

Community Farm : ชุมชนเกษตร คำตอบของทุกปัญหาการดำรงชีพ ตอนที่ 3(จบ)

คลิกอ่าน ตอนที่ 1
คลิกอ่าน ตอนที่ 2

และเมื่อเครือข่ายการเกื้อกูลเช่นนี้ขยายวงออกไปอย่างกว้างขวางแล้ว ชุมชนทั้งหมดก็จะเหมือนครอบครัวเดียวกัน การไปมาหาสู่ก็จะง่ายดาย เหมือนมีบ้าน มีญาติ มีปู่ย่าตายาย มีลูกหลานอยู่ทุกๆที่ ไปไหนก็ไม่ต้องกลัว ชุมชนไหนประสบปัญหา เกิดภัยพิบัติ เกิดผลผลิตหรือพื้นที่เสียหาย ชุมชนที่เหลือ ที่ยังเข้มแข็งอยู่ก็สามารถยื่นมือเข้าไปช่วยฟื้นฟูได้อย่างรวดเร็ว ไม่ต้องแบกภาระด้วยตนเอง ไม่ต้องรอภาครัฐ ไม่ต้องรอเงินทุน

วันอาทิตย์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2558

Community Farm : ชุมชนเกษตร คำตอบของทุกปัญหาการดำรงชีพ ตอนที่ 2

โดยสภาพสังคมแบบปัจเจกตัวใครตัวมันนั้น ผมพบว่าแต่ละบ้านต้องแบกต้นทุน แบกภาระ แบกสิ่งต่างๆคล้ายๆกัน แต่ไม่สามารถช่วยเหลือซึ่งกันและกันได้ เพราะความเป็นปัจเจกตัวใครตัวมัน กำลังในแต่ละด้านที่จะรับมือปัญหาของแต่ละครอบครัวก็ไม่เท่ากัน บางครอบครัวขาดแคลนบีบคั้น อับจนหนทาง บางครอบครัวมีทุกอย่างจนล้นเกิน จนกลับกลายเป็นการสร้างความละโมบโลภมากไป ต่างคนต่างอยู่แบบนี้ไม่เรียกว่าเป็นสังคมมนุษย์นะครับ ทุกวันนี้เรามีชีวิตคล้ายหมูในฟาร์มมากกว่า เพราะมีแต่การบริโภค แต่ไม่มีการวิวัฒน์ในเชิงสังคมหรืออารยธรรมอย่างแท้จริง

วันอังคารที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2558

Community Farm : ชุมชนเกษตร คำตอบของทุกปัญหาการดำรงชีพ ตอนที่ 1

ความต้องการขั้นพื้นฐานที่จำเป็นของมนุษย์นั้นมีอะไรบ้าง?
คำตอบที่เราเคยเรียนมาก็มีประมาณนี้

อาหาร
ที่อยู่อาศัย
ยารักษาโรค
เครื่องนุ่งห่ม

พูดง่ายๆก็คือปัจจัย 4 นั่นเอง ส่วนเกินอื่นๆ เช่น ความสะดวกสบาย ความมั่นคงทางการเงิน หลักประกันชีวิต หลักประกันอนาคต ความบันเทิงต่างๆ ล้วนมีขึ้นมาภายหลัง เมื่อระบบต่างๆดูจะเป็นภัยและเพิ่มความเสี่ยงต่อชีวิตมากขึ้นในทุกๆด้าน ประกอบกับการถูกกระตุ้นให้กลัว เพื่อให้เกิดการบริโภคมากที่สุด จนผู้คนทั้งหลายต้องตกอยู่ในความเครียดโดยไม่จำเป็นทั้งนั้น ซึ่งถ้าไม่มีความเสียงจากระบบเศรษฐกิจเหล่านี้ เราต้องการเพียงแค่ปัจจัย 4 เท่านั้นจริงๆ ก็ถ้าไม่มีอะไรมาบีบคั้น จะมีใครนั่งเครียดไหม

วันอังคารที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

เนื้อหาและหลักการของหมู่บ้านพอ ตอนที่ 3 : สัจธรรมแห่งหมู่บ้านพอ

จริงๆแล้วชื่อหมู่บ้านพอนั้นก็บ่งบอกชัดเจนอยู่แล้วว่า สัจธรรมของหมู่บ้านพอก็คือความ "พอ"

ซึ่งคำว่า "พอ" นั้น ไม่ใช่พอเพียง พอก็คือพอ พอโดยธรรมชาติของมัน ไม่ใช่พอในแบบที่เอาตัณหาตนเป็นประมาณ อย่างนั้นทำเท่าไหร่ก็ไม่พอ

การเกิดขึ้นของหมู่บ้านพอนั้น ไม่เหมือนแนวทางปกติของระบบเศรษฐกิจพอเพียงหรือเกษตรพอเพียงของที่อื่นสักเท่าไหร่ ตรงที่เราไม่ได้ดิ้นรนที่จะรวยอะไรตั้งแต่ต้น ไม่ได้ดิ้นรนจะมีที่ยืนในระบบเศรษฐกิจ ไม่ได้ทำเพื่ออุดมการณ์สูงส่งอะไร เพียงแต่เราแค่มองหารูปแบบที่เรียบง่าย ที่จะรองรับธรรมชาติที่มันพออยู่ในตัวมันเอง ลดทอนวงจรกรรมให้สั้นลงไม่ต้องเข้าไปพัวพันสาละวนต่อสู้เรียกร้องอะไรมาก และรองรับธรรมชาติของมนุษย์ที่ไม่ได้ต้องการอะไรฟุ้งเฟ้อมากมายอย่างที่หลงกันอยู่ในปัจจุบันเลย