ในวิธีการทำปุ๋ยหมักแบบกองแถวยาวไม่พลิกกลับกองของแม่โจ้ มีขั้นตอนวิธีทำดังนี้
1. นำฟาง 4 เข่ง วางหนา 10 ซม.บนพื้น ฐานกว้าง 2.5 ม. โรยทับด้วยขี้วัว 1 เข่ง (เพื่อให้เป็นสัดส่วน 4 ต่อ 1 โดยปริมาตร - ถ้าเป็นใบไม้ใช้ 3 ต่อ 1) แล้วรดน้ำ ถ้าต้องการปุ๋ยหมัก 1 ตันก็ต่อความยาวให้ได้ 4 เมตร
2. ทำชั้นที่สองซ้ำข้างต้น รดน้ำ ... ทำชั้นไปเรื่อย ๆ โดยให้กองปุ๋ยเป็นรูปสามเหลี่ยม สูงรวม 1.5 ม. ปกติก็จะมีจำนวน 15 - 20 ชั้น ... การทำเป็นชั้นบาง ๆ ก็เพื่อให้จุลินทรีย์ในมูลสัตว์สามารถออกมาย่อยสลายเศษพืชได้ทั่วถึง ที่สำคัญ ... ห้ามเหยียบ
3. ถ้าต้องการปุ๋ยหมัก 1 ตันก็ให้ต่อกองปุ๋ยจนยาว 4 ม. ด้วยขั้นตอนที่ 1 และ 2 ... กองปุ๋ยยาว 4 เมตรจะใช้ขี้วัว 30 กระสอบ ถ้าขี้วัวกระสอบละ 25 บาทก็จะเป็นต้นทุนในการทำปุ๋ย 30 x 25 = 750 บาทต่อตัน .... แต่ถ้าไม่ทำเองแล้วไปซื้อของคนอื่นอาจต้องจ่ายถึง 5,000 - 7,000 บาทต่อตันเชียวครับ
เครดิตสำหรับภาพนี้จาก facebook ชาวนาวันหยุด |
5. พอครบสองเดือน กองปุ๋ยก็จะยุบเหลือแค่ 1 เมตร กระบวนการก็จะยุติโดยไม่ต้องพลิกกองเลย ทิ้งให้แห้งเพื่อให้จุลินทรีย์ในกองปุ๋ยสงบตัว ไม่เป็นอันตรายต่อพืช แห้งแล้วค่อยเอาไปใช้หรือเก็บใส่กระสอบ
การเจาะกองปุ๋ยเพื่อให้น้ำแก่ภายในกองปุ๋ยเป็นสิ่งที่เกษตรกรส่วนใหญ่ละเลย ส่งผลให้เศษพืชไม่ถูกย่อยสลายเพราะแห้งเกินไป แถมคิดว่าการรดน้ำประจำวันจะทำให้มีน้ำไหลซึมเข้าไปในกองปุ๋ยได้ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ผิดครับ วัสดุเช่นนี้จะชอบยึดน้ำไว้ที่ตัวมันเองและจะไม่ยอมให้น้ำไหลซึมลงด้านล่างตามแรงโน้มถ่วง (คล้ายกับกองฟางที่ตากฝนในนา ซึ่งภายในจะแห้งสนิท จะไม่เคยเป็นปุ๋ยเลยไม่ว่าจะทิ้งไว้กี่ปี) ทางวิชาการเรียกว่ามีคุณสมบัติของ Field Capacity ครับ สามารถไปสืบค้นเพิ่มเติมจากกูเกิ้ลได้
การดูแลน้ำอย่างปราณีตแลกกับการต้องพลิกกลับกอง ผมคิดว่าคุ้มครับผม
จะทำยาว 4 ม.หรือ 400 ม. ก็เสร็จในสองเดือนเหมือนกัน เอาไปทำปุ๋ยขายก็ได้ เป็นโรงปุ๋ยที่ไม่ต้องมีพื้นหรือหลังคา
ข้อห้ามของการทำปุ๋ยวิธีนี้คือห้ามขึ้นเหยียบ ห้ามเอาผ้าคลุม เพราะจะทำให้อากาศไหลเวียนเข้าไปในกองปุ๋ยไม่ได้ ... ห้ามทำชั้นเศษพืชหนาเกินไปเพราะจุลินทรีย์จะเข้าไปย่อยสลายไม่ได้
กองปุ๋ยวิธีนี้จะมีความร้อนจัดใน 5 วันแรก ชนิดที่ว่ามีไอร้อนลอยอ้อยอิ่งออกมาเลยเชียว ไอร้อนนี้เป็นตัวชี้ให้เห็นว่ามีอากาศร้อนลอยออกจากกองปุ๋ย ซึ่งส่งผลให้อากาศเย็นกว่าที่อยู่ด้านนอกไหลเวียนเข้าไปแทนที่ จุลินทรีย์ในกองปุ๋ยจึงได้รับออกซิเจนไว้ใช้ในกิจกรรมการย่อยสลายโดยที่เราไม่ต้องพลิกกลับกองเลย
การทำปุ๋ยวิธีนี้ใครมีสารเร่ง พด.1 จะใช้ร่วมก็ได้ ไม่ผิดกติกาครับ
การทำปุ๋ยหมักวิธีของแม่โจ้ที่ไม่ต้องพลิกกลับกองนั้น มีข้อดีคือ (แน่นอน) ไม่ต้องพลิกกลับกอง ลดการใช้แรงงาน ทำในนาในสวนก็ได้ ลดการขนย้าย ได้ปุ๋ยหมักปริมาณมาก ๆ ไม่ต้องใช้สารอะไร (มีแต่ขี้วัวกับเศษพืช) ทำบนดิน ไม่ต้องมีหลังคา ลดการเผาฟางหรือใบไม้
กระบวนการในกองปุ๋ยจะไปสกัดเอาคาร์บอนในเศษพืชออกไปให้จุลินทรีย์ใช้เป็นสารอาหาร เหลือตกค้างเหล่าจุลธาตุ (โบรอน โมลิบดินัม เหล็ก ทองแดง สังกะสี คลอรีน แมงกานีส) ธาตุอาหารรอง (แคลเซียม แมกนีเซียม ซัลเฟอร์) และธาตุอาหารหลัก (ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม) เอาไว้ในปุ๋ยหมัก ให้เราได้นำไปให้ต้นพืชใช้ เป็นการหมุนเวียนแร่ธาตุโดยไม่ต้องไปซื้อหา
แล้วจุลธาตุ ธาตุอาหารรอง และธาตุอาหารหลักมาจากไหน .. ก็มาจากการที่รากพืชดูดซับขึ้นมาจากดิน เอามาสะสมไว้ในใบ ในต้น เพื่อสร้างดอก เมล็ด ผล ให้เราได้ทาน ได้เก็บเกี่ยว ... ดังนั้น หากเราเผาเศษพืชทิ้งไป ก็เท่ากับเผาทำลายธาตุอาหารต่าง ๆ เหล่านี้ทิ้งไปด้วย
แต่การทำกองปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยอินทรีย์แบบไม่พลิกกลับกองก็มีขั้นตอนและหลักการบางประการที่ผิดพลาดไม่ได้ ยอมไม่ได้ เพราะหากผิดขั้นตอนไป การย่อยสลายก็จะไม่สมบูรณ์ ได้ปุ๋ยหมักคุณภาพต่ำ และใช้เวลานาน ... มาดูว่าข้อผิดพลาดอะไรบ้างที่จารย์ลุงมักพบจากประสบการณ์ที่ไปช่วยเพื่อน ๆ เกษตรกรทำปุ๋ยหมัก
1. ห้ามขี้เกียจดูแลน้ำกองปุ๋ย เพราะถ้ากองปุ๋ยแห้งลง จุลินทรีย์จะมีชีวิตทำงานให้เราไม่ได้ การย่อยสลายจะยุติ
2. อย่านึกว่าการรดน้ำกองปุ๋ยจากภายนอกจะทำให้น้ำซึมลงไปข้างในได้ทั่วถึง ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ผิด เพราะน้ำจะไม่มีวันซึมลงไปลึกถึงข้างล่างได้ครับ
3. ห้ามทำกองปุ๋ยหมักในหลุม หรือทำในคอกซีเมนต์บล็อค เพราะจะทำให้อากาศเข้าทางด้านข้างไม่ได้ และเกิดการเน่าเหม็นที่บริเวณใต้กองปุ๋ยเพราะมีน้ำขัง
4. ห้ามระบายความร้อนในกองปุ๋ย เพราะความร้อนช่วยให้จุลินทรีย์ทำงานได้ดีขึ้น และช่วยให้มีการไหลเวียนของอากาศเข้ากองปุ๋ย ทำให้เราลดแรงงานในการพลิกกองปุ๋ยได้
5. ห้ามทำกองปุ๋ยใต้ต้นไม้ เพราะความร้อนและน้ำที่ละลายแร่ธาตุออกมาจะทำให้ต้นไม้ตายได้ ควรทำนอกทรงพุ่ม
6. ห้ามทำเป็นกองรูปสี่เหลี่ยม เพราะจะเกิดการลัดวงจรของอากาศที่ไหลเข้ากองปุ๋ย อากาศจะเข้าไปถึงตรงกลางกองปุ๋ยไม่ได้ ทำให้การย่อยสลายช้าลง
7. ห้ามขึ้นเหยียบกองปุ๋ย เพราะจะทำให้แน่นจนอากาศเข้ากองปุ๋ยไม่ได้
8. ห้ามวางเศษพืชหนาเกินไป จารย์ลุงกำหนดให้เศษพืชหนาได้ไม่เกิน 10 ซม. เพราะถ้าหนาเกินไปจุลินทรีย์จะเดินทางเข้าไปย่อยสลายไม่ได้
9. ห้ามเอาผ้าคลุม หรือเอาดินปกคลุมข้างบน เพราะจะไปขัดขวางการไหลของอากาศ
10. ห้ามแคร์สายตาของเพื่อนบ้าน เพราะเขาพวกนั้นเป็นพวก "ดวงตายังไม่เห็นธรรม" เขาพวกนั้นยังรังเกียจการลงมือทำการเพาะปลูกอย่างปราณีต ที่เป็นเหตุเป็นผล แต่รักที่จะเสียเงินมาก ๆ ซื้อปุ๋ยนาโน ปุ๋ยมหัศจรรย์ ปุ๋ยสารพัดกรด ฯลฯ และ ... เผาฟาง และเชื่อไหมครับ พอได้ปุ๋ยหมักใส่กระสอบเสร็จ เขาพวกนั้นก็จะมาขอแบ่งซื้อ
11. จะใส่สารเร่งจุลินทรีย์ หรือ พด.1 เพิ่มก็ได้ แต่การย่อยสลายจะไม่เสร็จเร็วขึ้นครับ เพราะจุลินทรีย์จะรักษาระดับปริมาณของมันในกองปุ๋ยครับ ... การที่วิธีทำง่าย ๆ ก็ไม่ได้แปลว่าปุ๋ยหมักไม่มีคุณภาพนะจ๊ะ
12. น้ำหมักชีวภาพหาได้เป็นพระเอกในทุกเรื่องไม่ สำหรับกองปุ๋ยแบบใหม่นี้เป็นการย่อยสลายแบบใช้ออกซิเจนที่ไม่เคยส่งกลิ่น แต่ถ้าเอาน้ำหมักชีวภาพมาใส่ จุลินทรีย์ในน้ำหมักเป็นแบบไม่ใช้ออกซิเจนเมื่อเอามาใส่ในกองปุ๋ยที่มีออกซิเจนจุลินทรีย์ในน้ำหมักก็เลยไปไม่ถูก ช่วยอะไรไม่ได้ แถมยังทำให้กองปุ๋ยมีกลิ่นอีกต่างหาก .. ถ้าจะใส่อยากแนะนำให้ใส่ตอนจะใส่กระสอบครับ ก่อนนำไปใช้
การทำปุ๋ยหมักแบบใหม่นี้ จะช่วยให้เพื่อน ๆ สามารถผลิตปุ๋ยอินทรีย์ได้ครั้งละ 10 20 30 40 ตัน เสร็จในสองเดือน ... ก็เป็นโอกาสที่ดีที่จะมีปุ๋ยหมักบำรุงสวนของเราอย่างเพียงพอ .... ลองคิดนอกกรอบไหมครับ .... ว่า .... ปุ๋ยหมักที่เหลือลองขายเพื่อนบ้านดู กก.ละ 4 - 7 บาท เผื่อจะเป็นรายได้เสริม .... เอาไว้ซื้อเลนส์ซูมตัวใหม่ไงครับ ... ที่ฐานเรียนรู้ของผมที่แม่โจ้ก็ขายปุ๋ยหมักแบบนี้ กก.ละ 4 บาท ท่านใดจะเอามาฝากขายก็ยินดีรับฝากครับ ไม่คิดเปอร์เซนต์จ้าาาาาาา
เครดิตจากเพจ facebook http://www.facebook.com/teera.maejo.9
รบกวนสอบถามเพิ่มเติมนิดเดียวครับใช้แกลบขาว หรือ แกลบที่มีปลายข้าวติดที่ปลายแกลบ นำมาหมักแทนฟางข้าวได้หรือไม่ครับ
ตอบลบที่บ้านเป็นสวนผลไม้อินทรีย์ค่ะ ในพื้นที่ไม่มีฟาง ไม่มีข้าวโพด ใช้เป็นขี้เลื่อย หรือแกลบแทนได้ไหมค่ะ แล้วแกลบกับขี้เลื่อยถ้าเปรียบเทียบกับฟางแล้วอันไหนดีกว่ากันค่ะ
ตอบลบแกลบน่าจะได้ครับ เพราะเป็นวัสดุการเกษตรเหมือนกัน แต่ขี้เลื่อยนี่ไม่น่าจะได้นะครับ หรือไม่ก็ลองดูกองเล็กๆก่อน สูตรพวกนี้มันปรับได้ครับ ต้องทดลองเอา
ตอบลบนอกจากฟางและขี้เลื้อยแล้วยังมีอะไรที่นำมาทำปุ๋ยหมักใด้อีกครับ
ลบวัสดุทางการเกษตรได้หมดครับ ยกเว้นพวกไม้ที่เป็นท่อนๆย่อยสลายไม่ได้นอกจากปลวก
ลบเศษผัก เศษผลไม้ที่ได้จากตลาดก็ทำได้เหมือนกัน แต่ไม่รู้ว่ามีสารเคมีตกค้างมากน้อยแค่ไหน จะปนเปื้อนในแปลงเกษตรอินทรีย์หรือเปล่าอันนี้ต้องระวังครับ
ลบอุปกรณืที่ใช้มีอะไรบ้างครับ
ตอบลบเข่งไว้ตวง
ลบคราดไว้เกลี่ยกอง
สายยาง / บัว ไว้รดน้ำ
ขี้วัวเปียกได้ไหมครับ
ตอบลบใช้ได้ค่ะ อาจมีน้ำหนัก อาจเลอะ + มีกลิ่นนิดนึงค่ะ
ลบสอบถามครับอาจารย์ ถ้าเป็นพวกผักตบชวา ที่เป็นปัญหาอยู่ตอนนี้ สามารถนำมาทำปุ๋ยหมักด้วยวิธีนี้ได้หรือไม่ครับ แล้วเรื่องขี้วัวนี่ ใช้เป็นขี้วัวเปียกหรือต้องตากแห้งก่อนนำมาใช้ครับ คือผมสนใจอยากทดลองทำดู มองเห็นว่า ถ้าใช้ผักตบชวา น่าจะหาวัตถุดิบได้ง่าย และขี้วัวนั้น ผมมีญาติเค้าเลี้ยงวัวเป็นคอกใหญ่อยู่ คิดว่า ถ้าทำได้น่าจะลงตัวในเรื่องวัตถุดิบที่จะหามาทดลองทำครับ อ้อ แล้วปุ๋ยคอกที่ได้ ถ้านำมาใช้กับพืชปลูกเอาหัว เช่น ข่า หรืออื่น ๆ จะมีพวกหนอน หรือศัตรูพืช ที่เจาะกินหัวใต้ดินพืช จิดมาด้วยไม๊ครับ เพราะเห็นบางคน เค้าใช้แต่ปุ๋ยเคมี ด้วยเหตุผลว่า ไมาต้องกลัวเรื่องหนอน หรือ อื่น ๆ ที่ติดมากับปุ๋ยธรรมชาติครับ
ตอบลบผักตบชวานำมาเป็นวัตถุดิบได้ค่ะ
ลบขี้วัว เปียก หรือ แห้ง ใช้ได้หมดค่ะ เพียงแต่ขี้วัวแห้งจะเบา ขึ้นกองง่ายกว่าขี้วัวเปียก
เมื่อครบ 2 เดือนที่หมักปุ๋ย พอนำปุ๋ยตาก ก็จะสามารถเก็บคัดแยกหนอนออกได้
ก่อนนำปุ๋ยไปใช้ค่ะ
ได้ค่ะ แต่ขี้วัวเปียกจะมีน้ำหนัก ขนย้ายลำบากนิดค่ะ
ตอบลบและอาจเลอะ มีกลิ่นนิดนึงค่ะ
นอกจากขี้วัวแล้วขี้ควายได้ป่าวครับบางครั้งหาขี้วัวยากครับ
ตอบลบนอกจากขี้วัวแล้วขี้ควายได้ป่าวครับบางครั้งหาขี้วัวยากครับ
ตอบลบใช้เปลือกหมาก ใบกล้วย ใบทุเรียน จะได้ไหมค่ะ
ตอบลบความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ
ตอบลบเมื่อทำปุ๋ยเสร็จ และตากไว้ 3 วัน ก่อนเอามาใช้ ปุ๋ยต้องเอามาผสมดินหรือเปล่าครับ เพราะที่บ้านจะใช้เพาะกล้าไม้เล็กๆ ด้วย ถ้าใช้ตัวปุ๋ยอย่างเดียวได้ไหมครับ ขอบคุณครับ
ตอบลบ